Last updated: 9 ม.ค. 2567 | 142 จำนวนผู้เข้าชม |
การทำตาสองชั้นในผู้สูงอายุบางครั้งก็จำเป็นไม่ใช่เพียงเรื่องของความงาม เช่น หนังตาตกจนบดบังการมองเห็น ขนตาม้วนเข้าทิ่มตาดำ สิ่งเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อดวงตาได้ สิ่งสำคัญคือการประเมินและการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด ข้อแตกต่างในการทำตาสองชั้นในผู้สูงอายุ ได้แก่
1. โรคประจำตัวก่อนผ่าตัด
แจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ โรคต่อมไทรอยด์ ฯลฯ พร้อมด้วยยาที่ใช้ประจำ โรคบางชนิดไม่ได้ห้ามการผ่าตัดตาสองชั้นแต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและในบางคนอาจต้องตรวจเลือดเพื่อความปลอดภัย
2. โรคทางตา
บางคนมีโรคทางตาอยู่ก่อนแล้ว เช่น ตาแห้ง โรคเปลือกตาอักเสพ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ฯลฯ ซึ่งบางกรณีอาจจะสามารถแก้ไขไปพร้อมกับการทำตาสองชั้นได้
3. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ผู้สูงอายุอาจมีตาและหนังตาตกเนื่องจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแอ การทำตาสองชั้นจะขจัดเฉพาะเปลือกตาส่วนเกินออกและไม่ช่วยแก้ปัญหาการมองเห็นไม่ชัด การแก้ไขกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแอจะทำให้ดวงตาโตขึ้น ลดริ้วรอยหน้าผาก และทำให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์
4. เอ็นตาล่างหย่อนคล้อย
ผู้สูงอายุมักมีความหย่อนคล้อยของเอ็นหนังตาล่าง ซึ่งจะมีผลในการผ่าตัดแก้ไขถุงใต้ตา หากไม่แก้ไขปัญหานี้อาจมีโอากาสที่จะเกิดตาล่างแบะออก การระคายเคืองตา น้ำตาไหล ตาหลับไม่สนิท และไม่สวยงามเท่าที่ควร
5. หนังตามาก
ผู้สูงอายุมักจะมีหนังตาที่ตกมาก บางครั้งลงมาปิดตาจนบดบังการมองเห็น
6. คิ้วตก
มักจะมีคิ้วที่ตกลงมาชิดใกล้กับตาร่วมด้วย เนื่องจากความหย่อนคล้อยตามวัย
7. อักเสพบวมนาน
เมื่ออายุมากขึ้น กระบวนการสมานแผลของร่างกายก็จะช้าลง
8. แผลหายช้า
แผลจากการแก้ไขหนังตาตกในผู้สูงอายุใช้เวลาในการรักษานานกว่าคนอายุน้อย
9. เบ้าตาลึก
ผู้สูงอายุอาจมีเบ้าตาลึกได้ เนื่องจากเปลือกตาตกและมีไขมันใต้เปลือกตาลดลง
10. การทำศัลยกรรมครั้งก่อน
พิจารณาการผ่าตัดครั้งก่อนๆ เมื่อวางแผนทำตาสองชั้นสำหรับผู้สูงอายุที่มีเปลือกตาตกอย่างรุนแรงจนบดบังการมองเห็นนั้น มักคำนึงถึงปัจจัยผลการรักษามากกว่าเรื่องของความงามเพียงอย่างเดียว
25 ธ.ค. 2566
20 เม.ย 2565
19 เม.ย 2565